พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคีมีความสุขและประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนโดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนและให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ และประสานการปฏิบัติ เพื่อให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริเป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระเกียรติ

ศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ (ศอญ.) กำหนดช่วงเวลาเปิดรับสมัครในแต่ละรอบสถานที่รับสมัคร ส่วนกลาง สมัครได้ ณ สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า หรือสำนักงานเขตของกรุงเทพ มหานคร ตามภูมิลำเนา ส่วนภูมิภาค สมัครได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ

ขั้นตอนในการสมัครและการลงทะเบียน

กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและรายละเอียดที่กำหนดในใบสมัครและยื่นเอกสารใบสมัครพร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่และถ่ายภาพเพื่อบันทึก ไว้เป็นข้อมูลของจิตอาสา และเพื่อจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่สัมภาษณ์ความถนัดในการทำงานและทักษะในด้านต่างๆของผู้สมัครเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดกลุ่มตามประเภทงานของจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริ

เข้าประจำที่ในสถานที่ตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด เพื่อทำพิธีรับพระราชทานเครื่องแต่งกายชุดจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย หมวก และผ้าพันคอ

  1. ศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ (ศอญ.)
  2. แอปพลิเคชันประชาชนจิตอาสา
  3. เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th

คุณสมบัติเบื้องต้นของจิตอาสา “เราทำความดี  เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” มี 4 ประการ ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทยหรือผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
  2. ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
  3. ไม่เบียดบังเวลาราชการ
  4. ไม่เสียการเรียน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของจิตอาสา “เราทำความดี  เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” มี 7 ประการ ดังนี้

  1. มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
  2. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
  3. มีวินัยและความรับผิดชอบ เคารพกฎหมายบ้านเมือง
  4. มีกริยา วาจา สุภาพเรียบร้อย
  5. ไม่ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดอื่นใดในขณะปฏิบัติงาน
  6. มีจิตใจเข้มแข็งและมีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม
  7. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงาม ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

การแต่งกายของจิตอาสา “เราทำความดี  เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์”

แต่งกายด้วยเสื้อพระราชทานหรือเสื้อสีสุภาพที่ไม่มีการระบุชื่อหน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคลบุคคลใด ๆ กรณีนักเรียนนักศึกษาสามารถแต่งกายด้วยเครื่องแบบ หรือสวมใส่กระโปรง/กางเกงของสถานศึกษาได้สวมหมวกแก๊ปและผ้าพันคอที่ได้รับพระราชทาน ติดบัตรประจำตัวจิตอาสาฯโดยการแต่งกายต้องมีความรัดกุม เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานโดยมีข้อควรระวัง คือ

  • จิตอาสาฯ ที่ลงทะเบียนถูกต้องเท่านั้นที่สามารถแต่งกายตามที่กำหนดข้างต้นได้
  • ชุดเครื่องแบบจิตอาสาฯ ไม่เป็นมรดกตกทอด ไม่สามารถมอบต่อให้ผู้อื่นได้
  • ห้ามทำเลียนแบบ (เนื่องจากมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย) และห้ามจำหน่ายจ่ายแจก

การรับสมัครและการรับลงทะเบียน

คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้

  1. มีสัญชาติไทยหรือผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
  2. ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
  3. ไม่เบียดบังเวลาราชการ
  4. ไม่เสียการเรียน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทาน ให้มีการฝึกหลักสูตรจิตอาสา

โดยในงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” มีประชาชนจำนวนมากได้สนใจลงทะเบียนเป็นจิตอาสาเฉพาะกิจ จำนวน 4 ล้านคนเศษ จึงจำเป็นจะต้องมีการคัดบุคคลเพื่อฝึกอบรมจิตอาสา เพื่อให้เป็นผู้นำของจิตอาสาเหล่านั้นในด้านต่าง ๆ และขยายผลให้มีทักษะการปฏิบัติงาน ปลูกฝังในเรื่องความมั่นคง ในชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ในการเข้ารับการฝึกหลักสูตรนี้ จะพิจารณาบุคคลเข้ารับการฝึกอบรม และคัดเลือกวิทยากรให้เหมาะสม ให้มีชั่วโมงในการทำงานและมีประสบการณ์ เมื่อจบหลักสูตรจะได้บุคคลที่เป็นแนวร่วมในการช่วยพัฒนาและป้องกันประเทศ และสร้างประชาชนที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน โดยแบ่งหลักสูตรเป็น 3 ระดับ

หลักสูตรการฝึกอบรมจิตอาสา แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. หลักสูตรทั่วไป มีระยะเวลาฝึกอบรม จำนวน 7 วัน
  2. หลักสูตรหลักประจำ มีระยะเวลาฝึกอบรม จำนวน 6 สัปดาห์
  3. หลักสูตรพิเศษ มีระยะเวลาฝึกอบรม จำนวน 3 เดือน

ปัจจุบันได้ดำเนินการฝึกไปแล้ว คือ หลักสูตร “หลักประจำ” รุ่นที่ 1 พระราชทานชื่อรุ่น ว่า “เป็นเบ้า เป็น แม่พิมพ์” โดยมีข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ทั้ง 4 เหล่าทัพ เข้ารับการฝึกอบรม ในห้วงเดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยทำการฝึก ณ พื้นที่กองพันฝึกส่วนหลัง กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เขตพระราชฐานในพระองค์ “วิภาวดี” ทั้งได้ทรงพระกรุณาวินิจฉัยเนื้อหาทุกวิชาของหลักสูตร และ พระราชทานพระราชทรัพย์ในการพัฒนาปรับปรุงสถานที่ฝึก และค่าใช้จ่าย พระราชทานเสื้อ เครื่องช่วยฝึก และพระราชทานอาหาร ตลอดห้วงการฝึก

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save