คำกราบทูล ของ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 20 ประจำปี 2561 ประชาธิปไตยไทย : ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา (Thai Democracy on the Move) ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2561

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2561
คำกราบทูล(๑) 

ของ 
นายพรเพชร วิชิตชลชัย 
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
ในฐานะประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า
ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๒๐ 
ประจำปี ๒๕๖๑ 
ประชาธิปไตยไทย : ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา
(Thai Democracy on the Move) 
ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ 
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ 

ขอประทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท 

เกล้ากระหม่อม นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในฐานะประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า พร้อมด้วยกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า 
คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ
และผู้ที่เข้าเฝ้าอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่างมีความปีติยินดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ 
เป็นล้นพ้นที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฝ่าพระบาท 
เสด็จแทนพระองค์มาทรงเปิดการประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๒๐ 
ประจำปี ๒๕๖๑ ในวันนี้ 

เกล้ากระหม่อมขอประทานกราบทูลรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของ 
การจัดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๒๐ เรื่อง ประชาธิปไตยไทย : 
ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา ดังนี้ 

(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 

320

ตลอดระยะเวลากว่า ๘๐ ปีที่ผ่านมา บนเส้นทางประชาธิปไตยของไทยได้มี
ความพยายามที่จะเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้เกิดสังคมที่มี
คุณภาพและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ความพยายามดังกล่าวสะท้อนผ่านรัฐธรรมนูญที่มี
มาหลายฉบับ การวางรากฐานประชาธิปไตยโดยยึดหลักธรรมาภิบาล การปรับโครงสร้าง 
อำนาจและสถาปนาองค์กรอิสระขึ้นเพื่อสร้างดุลยภาพที่เหมาะสม การส่งเสริมวัฒนธรรม 
ที่ดีทางการเมือง การส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองให้เข้มแข็ง การส่งเสริมให้เกิดการ 
กระจายอำนาจอย่างแท้จริง หากแต่ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยดังกล่าว 
ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำาให้ประเทศไทยยังคงมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ 
ในการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่มีคุณภาพภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะ 
เดียวกันประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกต่างกำลังเผชิญกับสถานการณ์และความท้าทาย 
รูปแบบใหม่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับนานาประเทศมา 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับประเทศไทยในห้วงสถานการณ์ปัจจุบัน 

ในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญของการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย 
อีกวาระหนึ่ง ผ่านการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้วยยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้แนวคิด 
ประเทศไทย ๔.๐ รวมทั้ง การเข้าใกล้ห้วงเวลาของการเลือกตั้งภายใต้กฎกติกาใหม่
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สถาบันพระปกเกล้า 
เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำประสบการณ์ของประเทศไทยและ 
นานาชาติมาทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อเสนอแนะที่ได้มาคิดหาทางออกร่วมกัน 
เพื่อเป็นก้าวย่างที่สำคัญของประชาธิปไตยไทยในอนาคต จึงได้กำหนดให้มีการประชุม 
วิชาการประจำปีนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

๑. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การส่งเสริม และพัฒนาประชาธิปไตย 
ในระยะเปลี่ยนผ่าน ภายใต้กฎ กติกา และรัฐธรรมนูญใหม่ จากนักวิชาการและ 
ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

๒. เพื่อให้ได้ข้อเสนอสำหรับนำพาประเทศไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่
พึงปรารถนาและต้องร่วมกันสร้างโดยทุกภาคส่วนของสังคมไทย 

กิจกรรมหลักของการประชุมวิชาการ ประกอบด้วย การแสดงปาฐกถาจาก 
ผู้ทรงคุณวุฒิ การสัมมนาทางวิชาการ และการจัดนิทรรศการในหัวข้อ “ประชาธิปไตย 
ไทย : ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา” และเวทีกิจกรรมเพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วม 
โดยจัดเป็นสื่อที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ 

321
การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและ 
ต่างประเทศ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็น 
อย่างดี สถาบันพระปกเกล้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมวิชาการในครั้งนี้จะเป็นเวที
ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหาร นักวิชาการ ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน 
ที่สนใจได้แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติสืบไป 

บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว เกล้ากระหม่อมขอประทานพระดำรัส 
เปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ ๒๐ ประจำปี ๒๕๖๑ ในหัวข้อ 
“ประชาธิปไตย : ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา” พร้อมทั้ง เชิญเสด็จทรงเปิดนิทรรศการและ 
ทอดพระเนตรนิทรรศการ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่สถาบันพระปกเกล้าสืบไป 

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 

322