คำกราบทูล ของ ศาสตราจารย์นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและรายงานกิจการมหาวิทยาลัย ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2558 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันพุธ ที่ 28 กันยายน 2559

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ.2559

คำกราบทูล (๑)

ของ
ศาสตราจารย์นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและรายงานกิจการมหาวิทยาลัย
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันพุธที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙

ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท

ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ใต้ฝ่าพระบาทเสด็จมาทรงปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระองค์
ในการพระราชทาน
ปริญญาบัตรแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ
และบัณฑิตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประจำ
ปีการศึกษา
๒๕๕๘
นับเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นอย่างยิ่ง
และ
ยังเป็นพระกรุณาธิคุณแก่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณาจารย์
ข้าราชการ
นักศึกษาและบุคลากรโดยทั่วกัน
ข้าพระพุทธเจ้า
ศาสตราจารย์จรัส
สุวรรณเวลา
นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ในนามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รู้สึกสำนึก
ในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ในรอบปีที่ผ่านมาตามภารกิจต่าง

สรุปได้ดังนี้

ด้านการผลิตบัณฑิต
ได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรต่าง

รวม
๓๒๑
สาขาวิชา
เป็นหลักสูตรปริญญาตรี
๑๕๑
สาขาวิชา
ระดับประกาศนียบัตรและ

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

474

ปริญญาโท
หรือเทียบเท่า
๑๑๙
สาขาวิชา
และระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
๕๑
สาขาวิชา
มีนักศึกษา
๔๓,๖๐๕
คน
คณาจารย์
๒,๔๔๗
คน
และบุคลากรอื่น

๘,๘๘๓ คน

ด้านการวิจัย
มหาวิทยาลัยมุ่งสู่มหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อนวัตกรรมและสังคม
ที่สามารถพัฒนาต่อยอดนำไปสู่นวัตกรรมและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรม
ในปีที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ
และนานาชาติ
และมีผลงานวิจัย
สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
ได้รับรางวัลระดับชาติ
และนานาชาติหลายรางวัล
อาทิ
รางวัลระดับชาติ
ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
(สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
รางวัลทะกุจิ
ประเภทนักวิจัยดีเด่น
จากผลงาน
วิจัยเรื่อง
“กระบวนการกำจัดโปรตีนในนํ้ายางธรรมชาติ
และการใช้เป็นวัตถุดิบใน
อุตสาหกรรมต่าง
ๆ”

ด้านการบริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยมีโครงการบริการวิชาการเพื่อยกระดับ
ความเข้มแข็งของชุมชน
และพัฒนาระบบการเผยแพร่วิชาการออกสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง
เน้นการพัฒนากำลังคนในวัยทำงานให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น
เตรียมรับสังคมผู้สูงวัย
โดยพัฒนาผู้สูงวัยที่สามารถทำงานได้ให้สามารถใช้ความรู้
ความสามารถในการพัฒนา
ประเทศ
และมหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ที่ให้บริการรักษาพยาบาล
ดูแลผู้ป่วยในภาคใต้
และโรงพยาบาลทันตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะโรคในช่องปาก
แห่งเดียวในภาคใต้

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน
ทั้งด้านการศึกษาวิจัย
การอนุรักษ์
การฟื้นฟู
การพัฒนา
และถ่ายทอดวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

ในปีการศึกษา
๒๕๕๘
มหาวิทยาลัยมีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา
และมีสิทธิ
เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
จำนวน
๘,๒๔๗
คน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษา
ปริญญาเอก
จำนวน
๑๓๗
คน
ปริญญาโท
จำนวน
๘๐๖
คน
และปริญญาตรี
จำนวน ๗,๓๐๔
คน สำหรับปีนี้
สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติเป็นเอกฉันท์
ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาสัตวแพทยศาสตร
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราช
กุมารี และได้มีมติอนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ ราย

475

บัดนี้
ถึงเวลาอันอุดมมงคลฤกษ์แล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบทูล
เชิญใต้ฝ่าพระบาท
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานปริญญาบัตร
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
โล่เกียรติยศแก่ผู้ได้รับรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์
อาจารย์
ตัวอย่าง
และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่าง
ๆ ตาม
รายงานที่อธิการบดี
รองอธิการบดี
คณบดี
และรองคณบดีแต่ละคณะ
จะได้กราบทูล
ต่อไป
และขอพระราชทานพระโอวาท
เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่บัณฑิต
นักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ และผู้เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้สืบไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

476