คำกราบบังคมทูล ของ รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2561

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2561
คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ 
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ 

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท 

ข้าพระพุทธเจ้า รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัย 
เทคโนโลยีสุรนารี ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลรายงานกิจการของ 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยสังเขปดังนี้ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เมื่อ 
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๓ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ อยู่ใน 
การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และถือเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของ 
รัฐเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่เน้นการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
ในสาขาวิชาที่มีความต้องการกำลังคนสูง มหาวิทยาลัยปฏิบัติภารกิจหลัก ๕ ประการ 
ได้แก่ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม การปรับแปลง ถ่ายทอด 
และพัฒนาเทคโนโลยี และการทะนุบำารุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ประเทศไทย 
สามารถพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสามารถแข่งขันกับประเทศ 
ต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน 

(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 

351 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ใต้ฝ่าละอองพระบาท 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดตั้ง 
“กองทุนนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” 
โดยจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อสนับสนุนผลงานของคณาจารย์ นักศึกษา และ 
บุคลากรของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๖๐ ได้สนับสนุน 
โครงการวิจัยทั้งสิ้น ๔๗ โครงการ 

ด้านการวิจัยพัฒนา ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ดำเนินโครงการวิจัย 
๕๒๒ โครงการ ในจำนวนนี้ได้รับทุนตามโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกของ 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งสิ้น ๕๑ โครงการ และได้เผยแพร่ผลงาน 
วิจัยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ รวม ๘๔๗ ผลงาน ทั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับ 
นานาชาติ จำนวน ๗๘๒ ผลงาน และมีผลงานวิจัยที่นำมาจดสิทธิบัตร จำนวน ๒๐ 
ผลงาน และจดลิขสิทธิ์ จำนวน ๓๐ ผลงาน กองทุนนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สมเด็จ 
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒ โครงการ 

ด้านการปรับแปลง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยได้ดำเนินภารกิจ 
ด้านการปรับแปลง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการเป็น “สถาบันคู่เคียงสังคม” 
ยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ควบคู่กับหลักธรรมาภิบาล 
ที่มีการบริหารที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก 
ทรัพย์สินทางปัญญา และสนับสนุนให้มีการจัดแสดงผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่ม 
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงผลักดัน 
ให้เกิดการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ต่อไป โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยพัฒนามา 
ปรับแปลงและถ่ายทอดสู่ชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น การจัด 
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย การจัดโครงการด้าน 
ปศุสัตว์ ด้านเกษตร การจัดโครงการคลินิกเทคโนโลยี และโครงการหน่วยบ่มเพาะ 
วิสาหกิจ ฯลฯ โดยมหาวิทยาลัยมุ่งมั่นส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ที่มีขีดความสามารถ 
ในการแข่งขันสูง โดยมีการยกระดับการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการ 
สนับสนุนคลัสเตอร์เชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาค มุ่งเน้นกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน 
ผู้ประกอบการใหม่ ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และ 
ประชาชนทั่วไป 

352 
ด้านการบริการวิชาการ เพื่อให้สถาบันแห่งนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง 
มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบาย “จากหิ้ง ลงสู่ห้าง” คือ นำผลงานวิจัยที่โดดเด่นและ 
เกิดนวัตกรรมสู่การพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน มุ่งสู่การเป็นไทยแลนด์ ๔.๐ 
เพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็น “สถาบันคู่เคียงสังคม” โดยมีเทคโนธานี เป็นหน่วยงานหลัก 
ทำหน้าที่เชื่อมประสานองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกบริการสู่สังคม 
เช่น ไก่เนื้อโคราช โคเนื้อพันธุ์โคราชวากิว ปลานิลแปลงเพศ การปลูกพืชไร้ดิน 
(ไฮโดรโปนิกส์) ฯลฯ มหาวิทยาลัยได้พยายามเพิ่มพูนความรู้ด้านต่าง ๆ และส่งเสริม 
ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์
การปรับปรุงกระบวนการผลิต ตลอดจนการตลาด เพื่อให้เกิดเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคง 
และยั่งยืน พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อให้
องค์ความรู้ทางวิชาการที่สั่งสมจากคณาจารย์ นักวิจัย และผู้มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์
แต่ละแขนง ได้ถูกเชื่อมประสานผ่านสำนักงานอุทยานการเรียนรู้สิรินธร สำนักงานบริการ 
วิชาการและโครงการพิเศษ โดยจัดให้มีการอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการ 
ที่เกิดจากการร่วมคิดร่วมพัฒนาตามความต้องการของสถานศึกษา ผู้ประกอบการ 
องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชน 

ด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยได้ร่วมส่งเสริม สนับสนุน 
เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการนำความรู้สู่การอนุรักษ์ 
โดยการสร้างเครือข่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในกลุ่มนักศึกษา บุคลากร และประชาชน 
เช่น กิจกรรมไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ไทย กิจกรรมลานบันเทิง และการจัดกิจกรรม 
ส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติในระดับอาเซียน ASEAN Week@SUT Library 

ด้านการรับผิดชอบต่อสังคม มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมโครงการที่แสดงถึง 
ความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น โครงการมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด (Green and Clean 
University) โครงการ มทส. ร่วมใจ ประหยัดใช้พลังงาน “สู้วิกฤตไฟฟ้า” 

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ดำเนินการตามภารกิจมาเป็นปีที่
ยี่สิบแปด โดยเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 
รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ หลักสูตร ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ 
เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการจัดการ ภาษาอังกฤษ 
สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ ดังนี้ 

๑. หลักสูตรระดับปริญญาตรี เปิดสอนในกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการจัดการ สาธารณสุขศาสตร์ 

353 

วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ รวม ๔๒ 
หลักสูตร รับนักศึกษาเข้าศึกษาโดยวิธีการรับตรง ทั้งมีการสอบข้อเขียนและไม่มีการสอบ 
ข้อเขียน และการคัดเลือกผ่านระบบ TCAS โดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย 
ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๖๑ รวม ๒๖ รุ่น มีนักศึกษา 
ระดับปริญญาตรีที่เข้ารับศึกษา รวม ๖๑,๒๐๓ คน มีผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ๒๑ รุ่น 
รวม ๒๔,๗๖๗ คน 

ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ นี้ มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาใหม่รวม ๓,๕๕๕ คน 
เป็นนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ๒,๓๐๖ คน กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยี
การเกษตร ๒๘๗ คน กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒๔๑ คน กลุ่มสาขาวิชา 
เทคโนโลยีการจัดการ ๑๔๓ คน กลุ่มสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ๑๙๕ คน กลุ่มสาขา 
วิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ๕๒ คนกลุ่มสาขาวิชาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 
ที่จัดการศึกษาแบบก้าวหน้า ๗๘ คน กลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ๙๒ คน กลุ่มสาขา 
วิชาพยาบาลศาสตร์ ๑๒๒ คน และกลุ่มสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ๓๙ คน 

๒. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา 
เป็นปีที่ยี่สิบสาม โดยเปิดสอนในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก รวม ๕๘ 
หลักสูตร นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้ารับศึกษา รวม ๖,๒๙๔ คน สำเร็จการศึกษา 
แล้วในระดับปริญญาโท ๑๙ รุ่น รวม ๒,๒๘๑ คน ระดับปริญญาเอก ๑๘ รุ่น 
รวม ๗๒๗ คน 

ผลการดำเนินงานดังที่ได้กราบบังคมทูลโดยสังเขป แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัย 
เทคโนโลยีสุรนารีประสบความสำเร็จและก้าวหน้ามาด้วยดีและในปีการศึกษา ๒๕๖๐ 
มีผู้สำาเร็จการศึกษาที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร แบ่งเป็น ระดับปริญญาเอก 
รุ่นที่สิบเก้า จำนวน ๘๑ น ระดับปริญญาโทรุ่นที่ยี่สิบ จำนวน ๒๒๒ คน ระดับ 
ปริญญาตรีรุ่นที่ยี่สิบสอง จำนวน ๒,๗๓๖ คน และผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 
รุ่นที่สี่ จำนวน ๙ คน ระดับปริญญาตรีรุ่นที่สิบแปด จากสถาบันการบินพลเรือน 
สถาบันสมทบของมหาวิทยาลัย จำนวน ๓๗๙ คน รวมจำนวน ๓,๔๒๗ คน 

บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราช 
วโรกาส กราบบังคมทูลเบิกผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยกิตติคุณ และ 
อธิการบดีกิตติคุณ ซึ่งแต่งตั้งเพื่อเป็นการยกย่องและเป็นเกียรติยศแก่นายกสภา 
มหาวิทยาลัย และอธิการบดี ที่ได้ทำคุณประโยชน์ยิ่งให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ตามลำดับ ดังนี้ 

354 
นายกสภามหาวิทยาลัยกิตติคุณ 
ศาสตราจารย์คนึง ฦาไชย
 
อธิการบดีกิตติคุณ 
ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน 

อธิการบดีกิตติคุณ 
ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า 

ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการ ผลงาน 
วิชาชีพ และทำคุณประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสังคม ประเทศชาติ และมหาวิทยาลัย 
เทคโนโลยีสุรนารีสมควรได้รับพระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อ 
เป็นเกียรติประวัติสืบไป ตามลำดับ ดังนี้ 

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ฟิสิกส์) 
ศาสตราจารย์มาร์คุส ไบลเชอร์ 
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) 
รองศาสตราจารย์เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ 

ผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์ยิ่งให้แก่มหาวิทยาลัย 
เทคโนโลยีสุรนารีสมควรได้รับรางวัลเกียรติคุณเข็มกิตติการทองคำเพื่อเป็นเกียรติ
ประวัติสืบไป ตามลำดับดังนี้ 

ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า 
นายวิเชียร จันทรโณทัย 

ต่อจากนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชวโรกาส กราบบังคมทูลเชิญ 
ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงพระกรุณาพระราชทานปริญญาบัตรกับรางวัลแก่ผู้สำเร็จ 
การศึกษา ดังที่คณบดี รองคณบดี หัวหน้าสาขาวิชา ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน 
และรองอธิการบดีจะได้กราบบังคมทูลต่อไป และขอรับพระราชทานพระราโชวาท 
เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่บัณฑิตและผู้เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร 
ครั้งนี้สืบไป 

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม 

355