คำกราบบังคมทูล ของ รองศาสตราจารย์วิชัย ชำนิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยทักษิณ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปีการศึกษา 2560 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ.2562
คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
รองศาสตราจารย์วิชัย ชำนิ 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ 
รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยทักษิณ 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา 
จากมหาวิทยาลัยทักษิณ 
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ 
ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง 
วันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๒ 

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาท 


ข้าพระพุทธเจ้า รองศาสตราจารย์วิชัย ชำนิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ 
ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยทักษิณ 
ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ เพื่อทราบฝ่าละอองพระบาท ดังนี้ 


มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ แบ่งการบริหารงานเป็น 
๒ วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตสงขลา จำแนกพื้นที่ออกเป็น ๒ แห่ง คือ พื้นที่
ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีส่วนงานวิชาการ ๖ คณะ และ 
๒ วิทยาลัย ประกอบด้วย คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ บัณฑิต 
วิทยาลัย วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา และวิทยาลัยนานาชาติ พื้นที่ตำบล 
เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันทักษิณคดีศึกษา และ 
วิทยาเขตพัทลุง ซึ่งจำแนกพื้นที่ออกเป็น ๒ แห่ง คือ พื้นที่ตาบลบ้านพร้าว อำำเภอ 


(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 


436

ป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และพื้นที่ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 
มีส่วนงานวิชาการ ๖ คณะ ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพ 
และการกีฬา คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะ 
พยาบาลศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ ทั้งสองวิทยาเขตมีส่วนงานอื่น 
และหน่วยงานบริหารรับผิดชอบการดำเนินงานสนับสนุนภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัย 
ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทักษิณในปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีดังนี้ 


ด้านบุคลากร มหาวิทยาลัยทักษิณมีนิสิตทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ 
ปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น ๑๒,๒๒๙ คน มีบุคลากรสายวิชาการ ๔๗๙ คน บุคลากร 
สายสนับสนุน ๖๘๓ คน รวมทั้งสิ้น ๑,๑๖๒ คน 


ด้านการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ 
มีอัตลักษณ์ ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ด้วยกระบวนการเรียนรู้จาก 
ประสบการณ์ตรงในชุมชน โดยพัฒนาหลักสูตรที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความ 
ต้องการของสังคม ปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เชิงบูรณาการจากแหล่ง 
เรียนรู้ในชุมชน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมดิจิทัล 
รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และสมรรถนะสากลของอาจารย์ เพื่อมุ่งสร้าง 
คุณภาพบัณฑิตตามอัตลักษณ์ที่มีความรับผิดชอบ รอบรู้ สู้งาน และมีประสบการณ์
เชิงปฏิบัติ ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยทักษิณได้จัดการเรียนการสอน 
ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา รวม ๙๔ หลักสูตร โดยจำแนกเป็น 
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๖๐ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต ๒ หลักสูตร 
ระดับปริญญาโท ๒๗ หลักสูตร และระดับปริญญาเอก ๕ หลักสูตร สามารถผลิต 
บัณฑิตระดับปริญญาตรีได้ ๒,๔๙๗ คน ระดับปริญญาโท ๒๒๕ คน และระดับ 
ปริญญาเอก ๗ คน รวมบัณฑิตทั้งสิ้น ๒,๗๒๙ คน 


ด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยได้สร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัย และมุ่งพัฒนา 
ศักยภาพนักวิจัยให้สามารถสร้างผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพในระดับชาติ
และนานาชาติ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตอบสนองยุทธศาสตร์ด้านการ 
วิจัยของประเทศ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ เชิงสังคม หรือเชิงพาณิชย์
และมุ่งพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยและนวัตกรรมในอนาคต สร้างระบบสนับสนุน 
การวิจัยรับใช้สังคมและการวิจัยเชิงพาณิชย์ รวมทั้งพัฒนาศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่
ตอบสนองความต้องการของสังคมและยุทธศาสตร์ชาติ ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ 
มหาวิทยาลัยทักษิณ มีหน่วยวิจัย ๔ หน่วย มีศูนย์วิจัยเฉพาะทาง ๑ ศูนย์ บุคลากร 


437

ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นจำนวนเงิน ๗๕,๐๗๔,๖๕๑ บาท เป็นทุนวิจัย 
จากภายนอก ๗๒,๔๔๗,๖๕๑ บาท และทุนวิจัยจากภายใน ๒,๖๒๗,๐๐๐ บาท 
มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ในระดับชาติ ๔๓๑ ผลงาน ระดับนานาชาติ ๑๘๕ ผลงาน มีผลงานวิจัยและผลงาน 
สร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงสังคม ๑๕๗ ผลงาน เชิงพาณิชย์ ๓๑ ผลงาน 
และมีผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ 
๑๒๔ เรื่อง 


ด้านการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการให้บริการวิชาการด้วยการ 
บูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อน 
การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ความมั่นคง การพัฒนาภาคใต้ตอนล่าง 
และประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมของ 
ทุกส่วนงาน หน่วยงาน รวมทั้งการบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสังคม 
สามารถสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่มให้กับมหาวิทยาลัย มีส่วนงานรองรับการบริการวิชาการ 
หลายส่วนงาน ประกอบด้วย วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อ 
การศึกษาแบบบูรณาการ สถาบันทักษิณคดีศึกษา รวมทั้งคณะและส่วนงานต่างๆ ในปี
การศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการบริการ 
วิชาการจากงบประมาณเงินแผ่นดิน จำนวน ๒๒,๓๐๐,๐๐๐ บาท มหาวิทยาลัย 
ได้จัดสรรงบประมาณให้แก่คณะ และส่วนงานต่าง ๆ จำนวน ๖,๗๔๗,๙๕๐ บาท 
เพื่อดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และมีจำนวนงบประมาณสำรองด้าน 
การบริการวิชาการ จำนวน ๑๕,๕๕๒,๐๕๐ บาท 


ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณได้เสริมสร้างความ 
เข้มแข็งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา โดยการพัฒนางานวิจัย งานสร้างสรรค์ 
และงานบริการวิชาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา พัฒนาแหล่งเรียนรู้
ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่นในภาคใต้ที่ครอบคลุมมิติด้าน 
พหุวัฒนธรรม ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณเงินอุดหนุน 
จากรัฐบาลมาดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๒,๖๖๑,๗๐๐ บาท ซึ่ง 
มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และ 
ร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการศึกษา วิจัย ส่งเสริม สืบสานอนุรักษ์ประเพณีและ 
วัฒนธรรม เผยแพร่และสร้างสรรค์พัฒนางานวิชาการให้สัมพันธ์กับวิถีชีวิตชุมชน สังคม 
ภาคใต้ และสากล 


438

ด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยทักษิณมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อ 
การดำเนินงานที่เป็นเลิศ โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 
และมีธรรมาภิบาล พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรและระบบประกันคุณภาพ 
การศึกษา ทั้งระดับมหาวิทยาลัย ระดับส่วนงาน หน่วยงาน และระดับหลักสูตร 
ตามเกณฑ์คุณภาพสากล พัฒนาระบบบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี
ประสิทธิภาพสู่มหาวิทยาลัยแห่งความสุข รวมทั้งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และการสื่อสารองค์กรให้ทั่วถึง สามารถ 
สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยต่อสังคม ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยได้
พัฒนาการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ 
มากยิ่งขึ้น ทั้งการพัฒนาระบบการดำเนินงานให้มีความคล่องตัว การพัฒนาระบบ 
บริหารทรัพยากรบุคคล จัดทำข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ เพื่อให้การดำเนินงานของ 
มหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายทุกๆ ด้าน 

กล่าวในภาพรวม ในรอบปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยทักษิณได้
ดำเนินงานตามพันธกิจหลักก้าวหน้ามาด้วยดี 


ผู้สำเร็จการศึกษาที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้ ประกอบด้วย 
บัณฑิตระดับปริญญาเอก ๗ คน บัณฑิตระดับปริญญาโท ๒๒๕ คน และบัณฑิต 
ระดับปริญญาตรี ๒,๔๙๗ คน รวมทั้งสิ้น ๒,๗๒๙ คน 


บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบ 
บังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาทพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ทรงคุณวุฒิและ 
ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาต่างๆ และขอพระราชทานพระราโชวาท เพื่อเป็นข้อคิด เป็น 
แนวทางในการดำเนินชีวิต และเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่บัณฑิตและผู้เข้าร่วมพิธี
พระราชทานปริญญาบัตรในวโรกาสอันเป็นอุดมมงคลนี้สืบไป 


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม 


439