คำกราบบังคมทูล ของ ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2559 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2562 (ภาคแรก)

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ.2562
คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า 
กรรมการสภามหาวิทยาลัย 
รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ 
ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี 
วันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๒ 
(ภาคแรก) 

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท 

ข้าพระพุทธเจ้า ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า กรรมการสภามหาวิทยาลัย 
รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ขอพระราชทานพระราชวโรกาส 
กราบบังคมทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสังเขปดังนี้ 

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยในด้าน 
การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงศิลปะและ 
วัฒนธรรม ตลอดจนด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ 
ประสบความสำเร็จและพัฒนาก้าวหน้าได้ด้วยดี โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีผู้สำเร็จ 
การศึกษาในทุกระดับ รวมทั้งสิ้น ๑๑,๕๑๕ คน (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยสิบห้าคน) 

บัดนี้ ถึงเวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทาน 
พระราโชวาท เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่บัณฑิต นักศึกษา คณาจารย์ 
ข้าราชการ และผู้เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ 
(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 

101 

ในวโรกาสต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชวโรกาส กราบบังคมทูล 
พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ โดย 
ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลประกาศเกียรติคุณดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 
ตามลำดับดังนี้ 

ลำดับที่หนึ่ง ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ สำเร็จ 
การศึกษานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นเนติบัณฑิต 
ในด้านหน้าที่การงาน ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา และผู้พิพากษาอาวุโสใน 
ศาลฎีกา นอกจากนี้ ได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทด้านกฎหมาย ซึ่งมีส่วนสำคัญ 
ในการพัฒนาประเทศชาติ ในส่วนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ช่วยเหลือ 
งานด้านวิชาการแก่สาขาวิชานิติศาสตร์ ด้วยความรู้ความสามารถและผลงานดังกล่าว 
สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ได้รับปริญญานิติศาสตร 
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป 

ลำดับที่สอง ศาสตราจารย์สุรพงษ์ โสธนะเสถียร เป็นผู้มีความรู้
ความสามารถรวมทั้งมีผลงานในด้านการสื่อสารทางการเมืองอย่างดียิ่ง ผลงานที่นับว่า 
มีความสำคัญเป็นอย่างมากคือ การศึกษาเพื่ออภิปรายความบทพระราชนิพนธ์ใน 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อให้ผู้อ่าน 
สามารถเข้าใจ และเข้าถึงคุณค่าในบทพระราชนิพนธ์ อีกทั้งได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ 
ได้แก่ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน 
ในส่วนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการ และให้คำปรึกษา 
ด้านหลักสูตรการศึกษา ด้วยความรู้ความสามารถและผลงานดังกล่าว สภามหาวิทยาลัย 
สุโขทัยธรรมาธิราชจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ได้รับปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต 
กิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป 

ในวโรกาสต่อไปนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชวโรกาสเบิกบัณฑิต 
กิตติมศักดิ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ ตามลำดับ ดังนี้ 

ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 
ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ 

ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แขนงวิชานวัตกรรม 
การสื่อสารทางการเมืองและปกครองท้องถิ่น 
ศาสตราจารย์สุรพงษ์ โสธนะเสถียร 

102
ในวโรกาสต่อไปนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูล 
พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จ 
การศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
จำนวนรวมทั้งสิ้น ๒,๕๕๓ คน ตามรายงานที่ประธานกรรมการประจำสาขาวิชา 
ผู้แทนสาขาวิชา และรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ จะได้กราบ 
บังคมทูลต่อไป 

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม 

103