คำกราบบังคมทูล ของ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ประธานอำนวยการงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๓๗ รายงานชีวประวัติศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) โดยสังเขป ในพิธีเปิดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1437 ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ วันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2559

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2559

คำกราบบังคมทูล(๑)

ของ
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ประธานอำนวยการงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๓๗
รายงานชีวประวัติศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) โดยสังเขป ในพิธีเปิดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๓๗
ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ประธานอำนวยการ งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช
๑๔๓๗ ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลชีวประวัติท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) พอเป็นสังเขป ดังนี้

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ถือกำเนิด ณ นครมักกะห์ ในช่วงยุคสมัยที่ สังคมมักกะห์ขาดคุณธรรม ศีลธรรม ท่านจึงถูกส่งไปให้ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่นม ณ ชานนครมักกะห์ เพื่อให้ห่างไกลจากสภาพสังคมดังกล่าวและเพื่อให้ท่านได้เจริญเติบโต ท่ามกลางธรรมชาติที่บริสุทธิ์
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) กำพร้าบิดาขณะอยู่ในครรภ์ ของมารดา และเมื่ออายุได้หกขวบผู้เป็นมารดาก็จากท่านไปอีกคน
ท่านจึงอยู่ใน ความอุปการะของปู่และลุงตามลำดับ ในช่วงเยาว์วัยท่านได้รับจ้างชาวอาหรับเลี้ยงสัตว์

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

124

เพื่อหารายได้เกื้อกูลตนเองและครอบครัวของลุง และเป็นช่วงที่ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับ ธรรมชาติ ทำให้ท่านมีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์
ดำเนินชีวิตด้วยความสมถะ เรียบง่าย และมีความซื่อสัตย์ กระทั่งได้รับสมญานามว่า “อัล อะมีน” คือ“ผู้ที่มีความซื่อสัตย์”
และได้รับความไว้วางใจจากเศรษฐินีหม้ายให้เป็นผู้นำกองคาราวานสินค้าไปยัง แคว้นชามหรือซีเรียในปัจจุบัน และเมื่ออายุ
๔๐ ปี ท่านได้รับการแต่งตั้งจาก อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้าให้เป็นศาสดาและศาสนทูตของพระองค์

ปัจจุบัน นับได้ว่า วจนะและจริยวัตรของท่านได้กลายเป็นต้นแห่งตำราทาง วิทยาศาสตร์ จนนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ
หลากหลายสาขาวิชาการ โดยเฉพาะ ในเรื่องของ “ฮาลาล” คือ สิ่งที่อนุมัติ และ “ฮารอม” คือ สิ่งที่ไม่อนุมัติ ดังนัย แห่งวจนะของท่านบทหนึ่ง
ความว่า “สิ่งที่ศาสนาอิสลามอนุมัตินั้นชัดเจน และสิ่งที่ ศาสนาอิสลามห้ามนั้นชัดเจนเช่นกัน แต่ให้พึงระวังสิ่งที่ต้องสงสัย”
จากนัยแห่งวจนะ ดังกล่าวจึงเป็นมูลเหตุแห่งยุคปัจจุบันนำไปสู่การค้นคว้าทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ เพื่อจำแนกให้เกิดความชัดเจนและรับรองว่า ผู้ปฏิบัติจะไม่ตกอยู่ในสิ่งที่ต้องห้ามทาง ศาสนา

ตั้งแต่วันนั้นจวบจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า ๑,๔๓๐ ปี ที่วจนะของท่าน ได้รับการจัดเป็นหมวดหมู่ ทั้งทางหลักปฏิบัติศาสนกิจและวิชาการในสาขาต่างๆ อย่าง กว้างขวาง มุฮัมมัด ศาสดาผู้อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ซึ่งความจริง มุสลิมศรัทธา ว่า ท่านได้รับการวิวรณ์จากอัลลอฮ์
องค์พระผู้เป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ และท่านได้มอบ วิทยาการดังกล่าวให้เป็นมรดกแห่งมนุษยชาติในที่สุด

บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิก รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย
ประจำปีฮิจเราะห์ ศักราช ๑๔๓๗ กราบบังคมทูลถวายรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงานเมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย ครั้งนี้ เป็นลำดับต่อไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

125