คำกราบบังคมทูล ของ รองศาสตราจารย์วิชัย ชำนิ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยทักษิณ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปีการศึกษา 2559 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2561

คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
รองศาสตราจารย์วิชัย ชำนิ 
รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ 
รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยทักษิณ 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยทักษิณ 
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ 
ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง 
วันพฤหัสบดีที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๑ 

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท 

ข้าพระพุทธเจ้า รองศาสตราจารย์วิชัย ชำนิ รักษาการแทนอธิการบดี
มหาวิทยาลัยทักษิณ ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลรายงานกิจการของ 
มหาวิทยาลัยทักษิณในช่วงปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อทราบฝ่าละอองพระบาท ดังนี้ 

มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ 
แบ่งการบริหารออก ๒ วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตพัทลุงซึ่งจำแนกพื้นที่ออกเป็น 
๒ แห่ง คือ พื้นที่ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และพื้นที่
ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีส่วนงานวิชาการ ๕ คณะ ได้แก่
คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน คณะวิทยาการสุขภาพ 
และการกีฬา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาเขตสงขลา 
ซึ่งจำแนกพื้นที่ออกเป็น ๒ แห่ง คือ พื้นที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา 
จังหวัดสงขลา มีส่วนงานวิชาการ ๖ คณะ และ ๒ วิทยาลัย ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์

(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 


71

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา 
วิทยาลัยนานาชาติ และพื้นที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็น 
ที่ตั้งของส่วนงาน คือสถาบันทักษิณคดีศึกษา ทั้งสองวิทยาเขตมีสำนักและส่วนงานอื่น
รับผิดชอบภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ภาพรวมกิจการด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย 
ทักษิณในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีรายละเอียดดังนี้ 

ด้านบุคลากร มหาวิทยาลัยทักษิณมีนิสิตทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ 
ปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น ๑๒,๑๕๓ คน มีบุคลากรสายวิชาการ ๔๗๙ คน บุคลากร 
สายสนับสนุน ๖๘๒ คน รวมทั้งสิ้น ๑,๑๖๑ คน 

ด้านจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตคุณภาพรองรับความ 
ต้องการของสังคม จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจากวิถีชีวิตจริงในชุมชน มุ่งสร้าง 
อัตลักษณ์คุณภาพบัณฑิตที่รับผิดชอบ รอบรู้ สู้งาน และมีประสบการณ์เชิงปฏิบัติ
สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการให้แก่นิสิต 
ในรายวิชาวิถีชุมชนท้องถิ่นและรายวิชาทักษิณศึกษา ซึ่งเป็นรายวิชาในหมวดวิชาศึกษา 
ทั่วไป รวมทั้งให้นิสิตทุกคนเข้าร่วมในกิจกรรมนอกชั้นเรียนตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัย 
กำหนด และเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มุ่งเน้น 
ให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการในด้านการผลิตครู อุตสาหกรรมการเกษตร ภาษาและ 
วัฒนธรรม และพลังงานทางเลือก ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
ได้เปิดสอน ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษารวม ๙๑ หลักสูตร โดยจำแนก 
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ๕๖ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต ๒ หลักสูตร 
ระดับปริญญาโท ๒๙ หลักสูตร และระดับปริญญาเอก ๔ หลักสูตร สามารถผลิต 
บัณฑิตระดับปริญญาตรีได้ ๒,๕๙๔ คน ระดับปริญญาโท ๓๒๐ คน และระดับ 
ปริญญาเอก ๑๐ คน รวมบัณฑิตทั้งสิ้น ๒,๙๒๔ คน 

ด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างสรรค์ผลงาน 
การวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการเพื่อการรับใช้ ชี้นำการพัฒนาให้กับสังคม และพัฒนา 
เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในอนาคต เพื่อกำหนดจุดยืนในการพัฒนาด้านการวิจัยที่มุ่งสร้าง 
ขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยให้มีระบบบริหารงานวิจัยให้มีมาตรฐาน มีนักวิจัย 
เชี่ยวชาญ มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยในการผลิตองค์ความรู้ นวัตกรรม ผลงานวิชาการ 
ที่มีคุณภาพรองรับความต้องการของสังคม สร้างคุณค่า มูลค่า ขับเคลื่อนการ 
พัฒนาชุมชนและสังคมในวงกว้าง และเน้นการผลิตผลงานวิชาการทั้งด้านคุณภาพ 


72

และปริมาณ โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนา ทำาหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุน 
งานวิจัยของมหาวิทยาลัย ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย 
การสร้างเครือข่ายการวิจัย การสนับสนุนทุนวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย การจัดตั้ง 
หน่วยวิจัยและศูนย์วิจัยเฉพาะทาง การจัดตั้งศูนย์เครื่องมือกลาง การสร้างแรงจูงใจ 
ในการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา 
และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเน้นสร้างความเข้มแข็ง การวิจัยเพื่อรับใช้สังคมที่มี
คุณภาพระดับนานาชาติ หรือที่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม หรือเชิงพาณิชย์ 
ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยทักษิณมีหน่วยวิจัย ๕ หน่วย มีศูนย์วิจัย 
เฉพาะทาง ๑ ศูนย์ และมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง 
จำนวน ๔ ศูนย์ความเป็นเลิศ บุคลากรได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเป็นจำนวนเงิน 
๔๑,๕๗๑,๕๓๖ บาท เป็นทุนวิจัยจากภายใน ๑๘,๒๔๔,๗๐๐ บาท และเป็นทุนวิจัย 
จากภายนอก ๒๓,๓๒๖,๘๓๖ บาท มีผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 
ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ๔๕๓ ผลงาน ระดับนานาชาติ ๑๒๘ ผลงาน 
มีผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ ๑๔๖ ผลงาน และมีผลงานวิจัย 
ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ๒๘๘ เรื่อง 

ด้านการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณได้กำาหนดยุทธศาสตร์ที่มุ่งการจัด 
บริการวิชาการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม 
คุณภาพชีวิต ความมั่นคง และการพัฒนาในภาคใต้ตอนล่าง และประเทศให้แข่งขันได้
และเติบโตอย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมของทุกส่วนงานและการบริการวิชาการที่
เกิดประโยชน์ต่อชุมชนสังคม สามารถสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม ให้กับมหาวิทยาลัย 
โดยกำหนดประเภทของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมใน ๓ ประเภท ประกอบด้วย 
โครงการบริการวิชาการแบบมุ่งเป้า โครงการบริการวิชาการรับใช้สังคมเพื่อการใช้
ประโยชน์เชิงสาธารณะ และโครงการบริการวิชาการแบบสร้างรายได้มีหน่วยงานรองรับ 
การบริการวิชาการหลายหน่วยงาน ได้แก่ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน สถาบันปฏิบัติการ 
ชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ สถาบันทักษิณคดีศึกษา คณะ สาขาวิชาและ 
หน่วยงานต่าง ๆ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับงบประมาณ 
สนับสนุนโครงการบริการวิชาการจากงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวน 
๑๖,๐๘๕,๐๐๐ บาท และได้จัดสรรงบประมาณให้แก่คณะและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 
๘,๐๖๓,๙๘๐ บาท คณะและหน่วยงานต่างๆ ได้ใช้งบประมาณเงินรายได้ในการดำเนินการ 
บริการวิชาการ จำนวน ๕๑๕,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับ 
ยุทธศาสตร์ 


73

ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณได้กำหนด 
ยุทธศาสตร์ที่มุ่งการเสริมสร้างความเป็นเลิศด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา 
และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งปัญญาและสันติสุขที่ยั่งยืน 
ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมาดำเนิน 
โครงการต่าง ๆ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๒,๗๗๗,๐๐๐ บาท มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ
๑๙ โครงการ โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๘ โครงการ โครงการที่อยู่ระหว่าง 
ดำเนินงาน ๑ โครงการ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่องานพัฒนา 
เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณะ สถาบัน วิทยาลัย และสำนัก ร่วมดำเนิน
กิจกรรมเพื่อการศึกษา วิจัย ส่งเสริมสืบสานอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม เผยแพร่
สร้างสรรค์พัฒนางานวิชาการให้สัมพันธ์กับวิถีชีวิตชุมชน สังคมภาคใต้ และสากล 

ด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยทักษิณได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา 
การบริหารจัดการ พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ พัฒนา 
ทรัพยากรมนุษย์ สู่มหาวิทยาลัยแห่งความสุข มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง มีธรรมาภิบาล 
พึ่งพาตนเองได้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาการดำเนินงานเพื่อ 
ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการพัฒนาระบบ 
การดำเนินงานให้มีความคล่องตัว การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้ง 
การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นระบบสากลมากขึ้น ได้จัดทำข้อบังคับ 
ระเบียบ ประกาศ เพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายอย่าง 
มีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้าน 

กล่าวในภาพรวม ในรอบปีการศึกษา ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยทักษิณได้ดำเนินงาน 
ตามพันธกิจหลักก้าวหน้ามาด้วยดี 

ผู้สำเร็จการศึกษาที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้ประกอบด้วยบัณฑิต 
ระดับปริญญาเอก ๑๐ คน บัณฑิตระดับปริญญาโท ๓๒๐ คน และบัณฑิตระดับ 
ปริญญาตรี ๒,๕๙๔ คน รวมทั้งสิ้น ๒,๙๒๔ คน 

บัดนี้ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูล 
เชิญใต้ฝ่าละอองพระบาทพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สำเร็จการศึกษา 
สาขาวิชาต่าง ๆ และขอพระราชทานพระราโชวาทเพื่อเป็นข้อคิด เป็นแนวทางในการ 


74

ดำเนินชีวิตและเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่บัณฑิตและผู้เข้าร่วมพิธีพระราชทาน 
ปริญญาบัตรในวโรกาสอันเป็นอุดมมงคลนี้สืบไป 


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม 


75