คำกราบบังคมทูล ของ ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานกิจการมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดี ที่ 20 ตุลาคม 2559 (ภาคเช้า)

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2559

คำกราบบังคมทูล (๑)

ของ
ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายงานกิจการมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙
(ภาคเช้า)

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลรายงานกิจการและผล
การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรอบปีการศึกษา ๒๕๕๘ ดังนี้

การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรอบปีงบประมาณ
พ.ศ.
๒๕๕๘
(๑
ตุลาคม
๒๕๕๗
-๓๐
กันยายน
๒๕๕๘)
เป็นปีที่
๙๘
แห่งการสถาปนา
มหาวิทยาลัย
ได้ดำเนินกิจกรรมตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ด้วยความมุ่งหมาย
ในการเป็นแหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงของแผ่นดิน
มุ่งเน้นการพัฒนาและสร้าง
ความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพทางวิชาการของประเทศไทย
ขณะเดียวกัน
ตอบโจทย
์ช่วยเหลือสังคม
และก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง
โดยภาพรวมของ
การดำเนินงานนับว่าได้รับผลสำเร็จอันดี
ดังปรากฏเป็นรางวัลต่าง

และการจัดอันดับ
ในระดับชาติและนานาชาติ

และเนื่องจากเป็นปีที่เกี่ยวเนื่องกับปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

สยามบรม
ราชกุมารี
ทรงเจริญพระชนมายุครบ
๖๐
พรรษา
ในวันที่

เมษายน
๒๕๕๘
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งงานพิธีของ
มหาวิทยาลัย และกิจกรรมในโอกาสต่าง

อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

517

ผลการดำเนินงานโดยสรุป
จำแนกตามพันธกิจหลัก

ด้าน
ได้แก่
การผลิต
บัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดังนี้

การผลิตบัณฑิต

ในปีการศึกษา
๒๕๕๘
มหาวิทยาลัยมีนิสิตทั้งหมด
๓๗,๘๙๔
คน
เป็นนิสิต
ระดับปริญญาตรี
๒๕,๕๖๘
คน
และระดับบัณฑิตศึกษา
๑๒,๓๒๖
คน
โดยมี
นิสิตใหม่ที่เข้าศึกษา
จำนวน
๙,๙๗๖
คน
เป็นระดับปริญญาตรี
๖,๒๗๗
คน
และ
ระดับบัณฑิตศึกษา
๓,๖๙๙
คน
ทั้งนี้
ผู้มีสิทธิ์ขึ้นรับพระราชทานปริญญาบัตรประจำ
ปีการศึกษา
๒๕๕๘
นี้
ทั้งระดับปริญญาตรี
และระดับบัณฑิตศึกษา
มีจำนวน
รวมทั้งสิ้น ๙,๗๕๕ คน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอน
รวม
๔๕๐
หลักสูตร
จำแนกเป็นระดับปริญญาตรี
๗๑
หลักสูตร
ระดับบัณฑิตศึกษา
๓๗๙
หลักสูตร
ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ
๘๘
หลักสูตร
ทั้งนี้
มหาวิทยาลัยมุ่งพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
โดยมุ่งเน้นคุณภาพมาตรฐาน
และ
ความเป็นนานาชาติ
เช่น
การบริหารหลักสูตรสองปริญญาระหว่างคณะภายใน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดทำหลักสูตรสองปริญญา
(Double
Degree
Program)
ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
ในระดับ
บัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยได้ขยายความร่วมมือเพื่อป้องปรามการลอกเลียนวรรณกรรม
ในวิทยานิพนธ์ของนิสิต
จากการจัดทำระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
(CU
E-Thesis)
และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
โดยในปีนี้
ได้ขยายสู่สถาบันการศึกษาอื่น
รวม ๕๙ แห่ง

มหาวิทยาลัยดูแลนิสิตที่เข้าศึกษาในเรื่องสวัสดิการ
กิจกรรมนิสิต
บ่มเพาะนิสิต
ให้มีความรู้และทักษะที่สำคัญในการทำงาน
ทักษะในการดำรงชีวิต
นอกจากนี้
ยังให้
ความสำคัญกับการให้ทุนการศึกษาเพื่อให้นิสิตสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้
อย่างเต็มที่
โดยไม่มีอุปสรรคใด

เพื่อให้เจริญก้าวหน้าเป็นคนดีในสังคม
และช่วย
พัฒนาประเทศ
ขณะเดียวกัน
ก็ให้การสนับสนุนการพัฒนาคณาจารย์ในการศึกษาขั้นสูง
ขึ้นไปและการเพิ่มเติมความรู้ในรูปแบบต่าง

พัฒนาด้านความร่วมมือทางวิชาการ
ระหว่างประเทศ
การดำเนินงานด้านเครือข่ายนานาชาติ
และอาเซียน
เพื่อผลักดันให้เกิด
มาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ
ในปีที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนนิสิตในโครงการ

518

แลกเปลี่ยนทางวิชาการ
รวม
๙๔๐
คน
แลกเปลี่ยนอาจารย์และนักวิจัย
รวม
๑๘๕ คน

การวิจัย

ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การวิจัยระยะ
๑๕
ปี
(พ.ศ.
๒๕๕๕
-๒๕๗๐)
มหาวิทยาลัยมุ่งพัฒนาสู่การเป็น
“มหาวิทยาลัยวิจัย”
สร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัย
เพื่อตอบโจทย์ประเทศและภูมิภาคในการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และส่งเสริม
ด้านอุตสาหกรรมเพื่อแข่งขันระดับสากล

ในปีนี้มีโครงการวิจัย ๑,๖๖๑ โครงการ คิดเป็นงบประมาณ ๑,๗๘๘ ล้านบาท
กว่าร้อยละ
๗๐
เป็นการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
ใน
ฐานข้อมูล Scopus จำนวน ๒,๓๕๘ เรื่อง

มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนกลไกการวิจัย
ในรูปของทุนวิจัย
ทุนพัฒนา
และ
ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัย
เช่น
การสร้างอาคารวิจัย

การจัดตั้งศูนย์
สัตว์ทดลอง และศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ

ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับโดยบุคลากรและผลงานของ
มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติอย่างต่อเนื่องทุกปี
ใน
ปีงบประมาณ
๒๕๕๘
ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น
๘๐
รางวัล
โดยเป็นรางวัล
ระดับนานาชาติ
๔๐
รางวัล
จำแนกเป็นประเภทบุคคล

รางวัล
และประเภท
ผลงาน
๓๘
รางวัล
และรางวัลระดับชาติ
๔๐
รางวัล
จำแนกเป็นประเภทบุคคล
๒๐ รางวัล และประเภทผลงาน ๒๐ รางวัล

การบริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ
แก่หน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
จัดดำเนินการหลายรูปแบบ
เช่น
การอบรม
สัมมนา
ประชุม
บริการ
วิเคราะห์
ทดสอบ
ตรวจสอบ
บริการให้
คำปรึกษา
บริการจัดสอบวัดความรู้
ให้บริการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
เป็นต้น
รวมทั้งสิ้น
๓,๗๖๖
โครงการ
๑๕๑,๖๙๙
ครั้ง
มีผู้รับบริการ
(เฉพาะโครงการที่
สามารถนับได้) ๑,๔๙๑,๙๕๓ คน/หน่วยงาน

519

ในด้านพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการโครงการ
OFOC
(One
Faculty
One
Community) โดยสนับสนุนให้คณะ วิทยาลัย หรือสถาบัน
ทำโครงการในการสนับสนุนและร่วมพัฒนาชุมชน
โดยการใช้ศักยภาพและความถนัด
ที่ตัวเองมีอยู่
ด้วยการสนับสนุนงบประมาณของมหาวิทยาลัยร่วมกับชาวบ้านและผู้นำ
ท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนที่อำเภอเวียงสา
จังหวัดน่าน
อำเภอกำแพงแสน
จังหวัด
นครปฐม
เกาะสีชัง
จังหวัดชลบุรี
และตำบลอ่างศิลา
อำเภอเมืองชลบุรี
จังหวัดชลบุรี
โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง
โดยสนับสนุนคณาจารย์
บุคลากร
และนิสิตของคณะ
วิทยาลัย
หรือสถาบัน
เข้าร่วมกับชุมชนและผู้นำท้องถิ่นในเขตอำเภอแก่งคอย
จังหวัด
สระบุรี
ในการแก้ปัญหาที่มีโจทย์มาจากชุมชนและบูรณาการศาสตร์ต่าง

จากหลาย
ส่วนงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน
และพัฒนาให้ผู้นำ
ท้องถิ่นสามารถทำแผนชุมชนในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
โดยครอบคลุมด้านการศึกษา
เกษตรกรรม การสร้างอาชีพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และศิลปวัฒนธรรม

นอกจากนั้น
มหาวิทยาลัยยังได้ให้บริการความรู้ทางวิชาการ
ความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะ
แก่สังคม
เช่น
การจัดแถลงข่าว
จัดเวทีสาธารณะ
หรือการประชุมเสวนา
เพื่อให้ความเห็นทางวิชาการตามวาระโอกาสที่สังคมต้องการองค์ความรู้
เพื่อ
การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหา
เพื่อเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์
และเพื่ออนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรม
เช่

งานแถลงข่าวผลงานนวัตกรรมสหสาขาวิชา
“วิศวกรรมทาง
การแพทย์

ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์
มีนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์
เช่น
แขนหุ่นยนต์ควบคุมด้วยคลื่นสัญญาณสมองเพื่อ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
เท้าเทียมคาร์บอนไฟเบอร์สำหรับ
ผู้พิการขาขาด
ชุดตรวจไตวายฉับพลันระยะเริ่มต้นด้วยชิปเคมีไฟฟ้าอิมมูโนเซนเซอร์
งานแถลงข่าวเรื่องข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทย
การจัดงานวันโยคะสากลขึ้นเป็น
ครั้งแรกในไทย
การเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมเมือง
สยามกรีนสกาย
หรือ
Siam
Green
Sky
(Urban
Agriculture
Learning
Center)
ที่ชั้น

อาคารสยามสแควร์วัน
เป็น Public
Space ลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยแนวคิดหลักเน้นการเรียนรู้
ชูวิถีเกษตร
และสร้างเครือข่ายสังคม
จัดกิจกรรมโดยคณะแพทยศาสตร์

สถาบัน
จุฬา

-รามา

-ศิริราช
ให้ความรู้สำหรับประชาชน
เรื่อง
“ความเชื่อผิด

ในการใช้ยา” และยังมีกิจกรรมน่าสนใจจัดต่อเนื่องตลอดทั้งปี

520

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องต่อพันธกิจสืบสานและ
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ทั้งด้านศาสนา
ขนบธรรมเนียมประเพณี
และศิลปวัฒนธรรม
โดยมีสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับส่วนงานทุกหน่วยงานของ
มหาวิทยาลัย
จัดกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุง
อนุรักษ์
พัฒนา
และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ไทยให้แก่เยาวชน
นิสิตนักศึกษา
รวมถึงบุคคลทั่วไป
ทั้งที่เป็นงานใหญ่ประจำปี
งานตามวาระโอกาส
และโครงการอีกหลากหลาย
เพื่อให้ทุกคนมีส่วนเข้าร่วม
และ
เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศทางศิลปวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัย
เช่น
การจัดพิธีไหว้ครู
ดนตรีไทย
การแสดงดนตรีและนาฏศิลป์
“รายการจุฬาวาทิต”
การแต่งตั้งศิลปิน
มหาวิทยาลัย
จัดนิทรรศการผลงานภาพถ่าย
“ปทุมสรัส
จังหวัดวัง”
ผลงานของ
ผศ.ดร.ประพจน์
อัศววิรุฬหการ
เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา

สยามบรมราชกุมารี
ทรงเจริญพระชนมายุครบ
๖๐
พรรษา
โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย
-เกาหลีใต้กับกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลีใต้
เข้าร่วม
แข่งขันในรายการ International
Youth
Music
Festival
I
(2015) ณ กรุงบราติสลาวา
สาธารณรัฐสโลวัก
รวมถึงการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
อาทิ
การชำระเอกสาร การจัดทำสื่อต่าง

เพื่อการสืบค้นและเผยแพร่ เป็นต้น

ด้านศาสนาและคุณธรรม
นอกจากจัดงานเนื่องในวันสำคัญทางศาสนาและ
การบรรยายธรรมแล้ว
ยังจัดกิจกรรมอื่น

เช่น
การจัดอบรม
เสวนาธรรม
การฝึกปฏิบัติธรรมนอกสถานที่
โครงการบรรพชาและอุปสมบทหมู่
การจัดพิมพ์
หนังสือ
การให้บริการวิชาการ
การให้บริการห้องสมุดและอุปกรณ์
จัดพิธีกรรมทาง
ศาสนา และการวิจัย

ในระดับส่วนงาน
(คณะ/หน่วยงาน)
มีการจัดโครงการหรือกิจกรรม
ในการอนุรักษ์
พัฒนา
และเสริมสร้างเอกลักษณ์
ศิลปะ
และวัฒนธรรม
จำนวน
๗๘๓
กิจกรรม/โครงการ
รวมทั้งสิ้น
๑,๓๖๕
ครั้ง
มีผู้เข้าร่วมโครงการ
(เฉพาะที่
สามารถนับได้) จำนวน ๒๑๑,๙๒๗ คน

ผลการดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้การยอมรับในระดับนานาชาติ
โดยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากหลายหน่วยงาน
เช่น
การจัดอันดับ
QS
World
University
Rankings
2015
-2016 ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ ๑ ของ
ประเทศไทย และอันดับที่ ๒๕๓ ของโลก

521

การจัดอันดับ
QS
World
University
Ranking
by
Subject
2015
ซึ่งเป็น
การจัดอันดับใน

กลุ่มสาขา
จำแนกเป็น
๓๖
สาขาวิชา
มหาวิทยาลัยได้รับ
การจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ

ของประเทศไทย

กลุ่มสาขา
และอยู่ใน
๒๐๐ อันดับแรกของโลก ๒ กลุ่ม คือ Engineering
&
Technology อันดับ ๑๔๐
ของโลก
และ
Social
Sciences
&
Management
อันดับ
๑๖๑
ของโลก
ในรายสาขาวิชา
ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ

ของประเทศ
๒๕
สาขา
อันดับ

ของประเทศ

สาขา
และอันดับ

ของประเทศ

สาขา
รวม
๓๔
สาขา
นับเป็นอันดับ

ในประเทศไทยมากที่สุด

ปีติดต่อกัน
และเป็นกลุ่ม
๑๐๐
อันดับแรกของโลก

สาขา
ได้แก่
Architecture/Built
Environment,
Modern
Languages
และ
Engineering
-Chemical
และอันดับ
๑๐๑
-๒๐๐
ของโลกอีก
๑๒ สาขา

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว
ปี
๒๐๑๕
(UI
Green
Metric
World
University
Ranking
2015)
ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ

ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นปีที่สองติดต่อกัน
เป็นอันดับ
๓๐
ของโลก
และ
อยู่ในอันดับ ๔ ของโลกประเภท City
Center
University

ผลการดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดังที่ได้กราบบังคมทูลมาโดย
สังเขป
เป็นผลงานที่เกิดจากความมุ่งมั่น
ความตั้งใจ
และความร่วมมือของทุกฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นนิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า
คณาจารย์ และบุคลากรทุกคน
และในปีการศึกษา
๒๕๕๘ มีผู้สำเร็จการศึกษารวม
๑๐,๐๗๓
คน ประกอบด้วยดุษฎีบัณฑิต
๔๒๕ คน
มหาบัณฑิต
๓,๓๕๕
คน
ประกาศนียบัตรบัณฑิต
และประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง
รวม ๖๐ คน ปริญญาบัณฑิต ๙,๙๑๕ คน และอนุปริญญา ๑๕๘ คน

บัดนี้
ได้เวลาอันเป็นมงคลอุดมฤกษ์แล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน
กราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาทพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ตามที่คณบดีจะได้กราบบังคมทูลต่อไป
และขอรับพระราชทานพระราโชวาท
เพื่อเป็น
สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสืบไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

522