คำกราบบังคมทูล ของ ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานกิจการของมหาวิทยาลัย ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันเสาร์ ที่ 12 พฤศจิกายน 2559

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

คำกราบบังคมทูล (๑)

ของ
ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายงานกิจการของมหาวิทยาลัย
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า
ศาสตราจารย์สมคิด
เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์
มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ใต้ฝ่าละอองพระบาทเสด็จพระราชดำเนิน
แทนพระองค์
มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ตามหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา
๒๕๕๘ นับเป็นโอกาสอันเป็นสิริมงคล
และเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
ทำให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
จนสุดความสามารถ
ในโอกาสนี้
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชวโรกาส
กราบบังคมทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรอบปีที่ผ่านมา
และที่
ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

ปีการศึกษา
๒๕๕๙
ซึ่งเป็นปีการศึกษาปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยมีนักศึกษา
ที่กำลังศึกษา
จำนวน
๓๗,๗๗๓
คน
แยกเป็นระดับปริญญาตรี
๓๐,๖๖๕
คน

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

566

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
๑๔๔
คน
ระดับปริญญาโท
๖,๒๒๗
คน
และระดับ
ปริญญาเอก
๗๓๗
คน
โดยเปิดสอนในหลักสูตรต่าง

ทั้งหมด
๒๘๑
หลักสูตร
แยกเป็นระดับปริญญาตรี
๑๒๔
หลักสูตร
ประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตร
ปริญญาโท ๑๑๔ หลักสูตร และปริญญาเอก ๓๙ หลักสูตร โดยแยกเป็นหลักสูตร
ภาษาไทย ๑๘๔ หลักสูตร และหลักสูตรภาษาอังกฤษ ๙๗ หลักสูตร

การบริหารงานมหาวิทยาลัยในรอบปีที่ผ่านมา
เพื่อสร้างองค์ความรู้
และผลิต
บัณฑิตที่มีทักษะในการเรียนรู้
เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ทั้งระดับประเทศ
และระดับโลก
และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง

ให้กับประชาชน
และพัฒนาประเทศชาติ
สมดังพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช
ที่ได้พระราชทานแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คือ
“ให้ใช้วิชา
ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
ให้เกิดประโยชน์แก่ตน
และแก่ส่วนรวมยิ่งขึ้นตลอดไป”
มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายหลัก ดังต่อไปนี้ คือ

๑.
การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยทั้งในเวทีระดับประเทศและระดับโลก
ในปีที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวทีระดับประเทศและระดับโลก
กว่า
๑๐๐
รางวัล
โดยได้รับรางวัลภายในประเทศจากสภาวิจัยแห่งชาติ
ทั้งรางวัล
งานวิจัย
รางวัลวิทยานิพนธ์
และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น
และได้รับรางวัล
ในงานประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่เป็นรางวัลระดับสูงสุด
รางวัลเหรียญเงิน
เหรียญทองแดง
และรางวัลพิเศษ
อีกทั้งยังมีผลงานที่ได้รับการยื่นจดสิทธิบัตรและ
อนุสิทธิบัตรเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการก้าวขึ้น
ไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางด้านการวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอาเซียนในอนาคตต่อ
ไป

๒.
การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ
ในปีที่ผ่านมาสถาบันศึกษาความร่วมมือ
ระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย
ได้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคต่าง

ของโลก
ทั้งด้านวิชาการ
การศึกษา
ค้นคว้า การวิจัย การฝึกอบรม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มีการเปิด
หลักสูตรใหม่

เช่น
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเอเชียแปซิฟิกศึกษา
เพื่อรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและการเมือง
และผลิตกำลังบุคลากรที่มีความรู้
ความเชี่ยวชาญด้านเอเชียแปซิฟิก
ที่จะเป็นเขตยุทธศาสตร์สำคัญของโลกในศตวรรษ
ที่
๒๑
นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งศูนย์นานาชาติใหม่

ขึ้นมาหลายศูนย์
อาทิ
ศูนย์
รัสเซีย
และเครือรัฐเอกราช
เพื่อจะขยายผลทางการศึกษาให้กว้างขวาง
และส่งเสริม

567

การทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ
เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง

ของโลก
โดยเปลี่ยนให้เป็นความร่วมมือให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกและ
มนุษยชาติร่วมกันต่อไป

๓.
การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาตนเองให้เป็น
บัณฑิตและมีทักษะในการเรียนรู้
ทักษะในการหาความรู้
และเรียนรู้ตลอดชีวิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนให้เป็น
Active
Learning
ที่มุ่งเน้นการคิด
วิเคราะห์
และการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหามากกว่าการท่องจำ
โดยได้
ดำเนินการจัดอบรมวิธีการสอนแบบ
Active
Learning
ให้แก่อาจารย์
ทั้งอาจารย์ใหม่
และอาจารย์เก่าอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
และที่สำคัญอีกประการ
คือ
ได้มี
การปรับเปลี่ยนหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป
ที่นักศึกษาปีหนึ่งทุกคณะต้องเรียน
โดย
ปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเพื่อสร้างบัณฑิตในศตวรรษที่
๒๑
ที่คิดเก่ง
วิเคราะห์เก่ง
แก้ปัญหาเก่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active
Learning

๔.
การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
ในรอบปีที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้มีการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development
Goals
ของสหประชาชาติ
เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจาก
สภาวะโลกร้อน นอกจากการดำเนินการในเรื่องสิ่งแวดล้อม
การลดปริมาณขยะ การเพิ่ม
ต้นไม้ใหญ่
และการเป็นมหาวิทยาลัยใช้จักรยานแล้ว
การดำเนินการประการสำคัญที่สุด
ในรอบปีที่ผ่านมา
คือ
การดำเนินโครงการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
บนหลังคา
โดยขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งได้กำลังผลิตไฟฟ้าแล้ว

เมกะวัตต์
และจะได้

เมกะวัตต์
ภายในสิ้นปีนี้
และอีก

เมกะวัตต์
ภายในปีหน้า
รวมเป็น
๑๕
เมกะวัตต์
ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย
อันดับหนึ่งในทวีปเอเชียที่ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด

ภายใต้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวโดยสังเขปแล้ว
ในปีการศึกษา
๒๕๕๘ มีผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้ดังนี้

ระดับปริญญาตรี
๖,๐๕๓
คน
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
๑๑๓
คน
ระดับปริญญาโท
๑,๘๒๔
คน
ระดับปริญญาเอก
๗๒
คน

บัดนี้
ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน
พระราโชวาท
เพื่อความเป็นสวัสดิมงคล
และเป็นหลักในการดำเนินงานของบัณฑิต

568

นักศึกษา
คณาจารย์
และบุคลากร
ของมหาวิทยาลัย
และขอพระราชทาน
พระราชวโรกาสกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาท
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ
และ
พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ตามรายงานที่นายกสภามหาวิทยาลัย
กราบบังคมทูลสดุดีเกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิ
และคณบดีแต่ละคณะจักได้กราบบังคมทูล
ต่อไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

569