คำกราบบังคมทูล ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2560 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันพุธที่ 31 มกราคม 2561

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561
คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา
รองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
ในพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ 
ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 
วันพุธที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ 

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท 

ข้าพระพุทธเจ้า ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะ 
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในนามคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 
ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะองคมนตรี รัฐมนตรี ทูตานุทูต และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน 
ที่เฝ้าทูลละอองพระบาทอยู่ ณ ที่นี้ รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น 
ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใต้ฝ่าละอองพระบาท 
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ มาพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 
พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นปีที่ ๒๖ ในวันนี้ 

ในวาระอันเป็นมงคลยิ่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชานุญาต 
ประกาศเกียรติคุณ และเบิกบุคคลผู้มีผลงานเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เข้าเฝ้า 
ทูลละอองพระบาทรับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ 
ตามลำดับ ดังนี้ 


(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 


22 
สาขาการแพทย์ 
โครงการจีโนมมนุษย์ (The Human Genome Project) เป็นโครงการวิจัย 
ขนาดใหญ่ที่มีส่วนสำคัญในความก้าวหน้าทางความรู้ที่เกี่ยวกับพันธุศาสตร์และรหัส 
พันธุกรรมของมนุษย์ โครงการดังกล่าวเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ 
โดยสถาบันวิจัยจีโนมมนุษย์แห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา โดยได้รับความร่วมมือจากคณะนักวิจัยจาก ๒๐ สถาบัน ใน 
๖ ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 
สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการนี้ได้ประกาศ 
ความสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์เป็นข้อมูล 
ชีวภาพขนาดใหญ่ชุดแรกที่จัดเก็บเป็นคลังความรู้ในฐานข้อมูลสาธารณะที่นักวิทยาศาสตร์
ทั่วโลกเข้าถึงได้ 

ภารกิจสำาคัญของโครงการจีโนมมนุษย์คือการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งหมดของ 
มนุษย์ ซึ่งเป็นกลไกกำกับและควบคุมกระบวนการของสิ่งมีชีวิตในทุกขั้นตอน จึงช่วยให้
เข้าใจกลไกการทำางานของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ กลไกการกลายพันธุ์ และกลไก 
การเกิดโรค องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาจีโนมมนุษย์ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีการถอดรหัส 
พันธุกรรม ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางการแพทย์หลายด้าน ทั้งการวินิจฉัยโรคพันธุกรรม 
ที่พบน้อย และการถ่ายทอดพันธุกรรมในครอบครัว รวมไปถึงโรคที่พบบ่อยในประชากร 
เช่น โรคมะเร็ง และโรคติดเชื้อ การตรวจคัดกรองในประชากรเพื่อค้นหาผู้มีความเสี่ยง 
ต่อการเกิดโรคหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์
ต่อการควบคุมหรือป้องกันก่อนที่อาการของโรคจะทรุดลง และช่วยให้เกิดการพัฒนา 
ยารักษาโรคที่มีความแม่นยำ เหมาะสมสำหรับปัจเจกบุคคล และทำให้การรักษาโรค 
มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 

ความรู้ที่ได้จากโครงการจีโนมมนุษย์ก่อให้เกิดการพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์
การแพทย์อย่างก้าวกระโดด และได้รับการยอมรับว่าศาสตร์แขนงนี้มีความสำคัญยิ่ง 
ต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการเกิดโรคต่าง ๆ ทำให้สามารถเปลี่ยนจากการวินิจฉัยและ 
รักษาโรคที่ปลายเหตุ มาเป็นการวิเคราะห์ต้นเหตุและค้นหาปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับ 
การเกิดโรค เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม 

ความก้าวหน้าทางความรู้ด้านพันธุกรรมของมนุษย์จากความร่วมมือทุ่มเทค้นคว้า 
ของโครงการจีโนมมนุษย์ดังกล่าว จึงถือเป็นความสำเร็จที่ก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล 
ต่อมวลมนุษยชาติอย่างชัดเจน 


23 
คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่ง 
ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงเป็นประธาน จึงเห็นสมควรให้ โครงการจีโนมมนุษย์ ได้รับ 
พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ 

สาขาการสาธารณสุข 
ศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ เกิดวันที่ ๑ 
มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๘๐ ปี สำาเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตแบคทีเรียวิทยา 
จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นปฏิบัติงานวิจัยและเป็นอาจารย์
ที่โรงพยาบาลเด็ก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ 
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา และอาจารย์อาวุโส 
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 

นายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์ เกิดวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ อายุ
๘๕ ปี สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 
ฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อและอิมมูโนวิทยา เป็นอาจารย์สอนในโรงเรียน 
แพทย์ ๓ ปี แล้วมาทำงานวิจัยที่สถาบันสุขภาพเด็กและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา จนเกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ 

แพทย์หญิงราเชล ชเนียสัน เกิดวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ อายุ
๘๕ ปี สำาเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยฮีบรู รัฐอิสราเอล 
ต่อมาฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์ แล้วมาทางานวิจัยที่สถาบันสุขภาพ 
เด็กและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา จนเกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม เกิดวันที่ ๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๔๘๗ อายุ ๗๓ ปสาเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย 
มัดดราส สาธารณรัฐอินเดีย และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย 
จอห์นส์ ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ฝึกอบรมเฉพาะทางโรคติดเชื้อในเด็ก หลังจากนั้น 
ปฏิบัติงานที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ ปัจจุบันดำรง 
ตำแหน่งศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ 

ศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ ร่วมกับนายแพทย์
เดวิด เฮช. สมิธ(๑) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์

(๑) นายแพทย์เดวิด เฮช. สมิธ เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ 


24 
ร่วมกับแพทย์หญิงราเชล ชเนียสัน จากสถาบันสุขภาพเด็กและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา เป็นนักวิจัย ๒ กลุ่มที่ได้ศึกษาวิจัยแบบคู่ขนานและเป็นอิสระต่อกัน 
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เกี่ยวกับกลไกก่อโรคและการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ 
ฮีโมฟีลุส อินฟลูเอนเซ ชนิดบี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฮิบ (Haemophilus influenzae 
type b หรือ Hib) ซึ่งเป็นแบคทีเรียสำคัญที่ก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก โดยเฉพาะ 
เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี โรคดังกล่าวมีอัตราการตายสูง และหากรอดชีวิต ยังอาจ 
เกิดความพิการอย่างถาวรได้วัคซีนชนิดแรกที่ผลิตขึ้นเป็นวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์
ซึ่งเป็นโมเลกุลน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบในแคปซูลของเชื้อ แต่พบว่าวัคซีนชนิดดังกล่าว 
ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า ๑๘ เดือน ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยง 
ต่อการติดเชื้อมากที่สุดได้ เนื่องจากน้ำตาลเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่ดี จึงปรับปรุง 

โดยการนำโมเลกุลโปรตีนมาเชื่อมต่อกับน้ำตาล แล้วพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้
ดีขึ้นมาก รวมถึงในเด็กเล็ก จึงได้จดทะเบียนให้ใช้ในเด็กตั้งแต่อายุ ๒ เดือนขึ้นไป 
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า วัคซีนฮิบชนิดคอนจูเกต (Hib 
conjugate vaccine) 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ 
ฮอปกินส์ มีบทบาทสำคัญในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อฮิบ โดยได้แสดง 
ข้อมูลทางคลินิกว่าสามารถป้องกันโรคติดเชื้อฮิบได้ด้วยภูมิคุ้มกัน รวมถึงศึกษา
ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อฮิบหลายชนิด ผลการศึกษาดังกล่าวนำไป 
สู่การผลักดันการฉีดวัคซีนฮิบชนิดคอนจูเกตในเด็กทุกคน ต่อมา ศาสตราจารย์
นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม ได้เป็นผู้วิจัยหลักในโครงการฮิบ อินนิชิเอทีฟ (Hib 
Initiative) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรสนับสนุนการให้วัคซีนทั่วโลก จนเกิด 
การส่งเสริมให้ฉีดวัคซีนฮิบชนิดคอนจูเกตเป็นวัคซีนพื้นฐานมากกว่า ๑๙๐ ประเทศ 

หลังจากมีการฉีดวัคซีนฮิบชนิดคอนจูเกต พบว่าอัตราการเกิดโรคและการตาย 
จากเชื้อฮิบในเด็กเล็กลดลงกว่าร้อยละ ๙๕ - ๙๙ และป้องกันการเกิดโรคในเด็กได้กว่า 
ร้อยล้านคนทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่า ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จะมี
เด็กกว่า ๗ ล้านคน ที่รอดชีวิตจากเชื้อฮิบเนื่องมาจากการได้รับวัคซีนนี้ 

ความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ จากชนิดโพลีแซคคาไรด์
มาสู่ชนิดคอนจูเกต ซึ่งเป็นวัคซีนมาตรฐานในปัจจุบัน ของศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์
ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ นายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์ และแพทย์หญิงราเชล 
ชเนียสัน รวมถึงผลงานของศาสตราจารย์ นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม ในฐานะผู้นำ


25 

โครงการฮิบ อินนิชิเอทีฟ ซึ่งผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนฮิบสำหรับเด็กทุกคนทั่วโลก 
โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก 
หลายร้อยล้านคนทั่วโลก 

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่ง 
ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงเป็นประธาน จึงเห็นสมควรให้ ศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์ 
ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ นายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์ แพทย์หญิงราเชล 
ชเนียสัน และศาสตราจารย์ นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม ได้รับพระราชทานรางวัล 
สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ร่วมกัน 

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชวโรกาสเบิกผู้แทนโครงการและบุคคล 
ดังกล่าว เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามลำดับดังนี้ 

สาขาการแพทย์ 
ผู้แทนโครงการจีโนมมนุษย์ นายแพทย์อีริค กรีน ผู้อำนวยการสถาบัน
วิจัยจีโนมมนุษย์แห่งชาติ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา 

สาขาการสาธารณสุข 
ศาสตราจารย์พอร์ทเตอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน จูเนียร์ 
นายแพทย์จอห์น บี. รอบบินส์ 
แพทย์หญิงราเชล ชเนียสัน 
ศาสตราจารย์ นายแพทย์มธุราม ซานโตชาม 

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม 


26