คำกล่าวรายงาน ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ออกรับนักศึกษาบัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 48 เพื่อรับโอวาทก่อนออกปฏิบัติงานสนาม ณ ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์ วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2559

คำกล่าวรายงาน (๑)

ของ
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้
นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี
เป็นผู้แทนพระองค์ ออกรับนักศึกษาบัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ ๔๘
เพื่อรับโอวาทก่อนออกปฏิบัติงานสนาม
ณ ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์
วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙

ขอประทานกราบเรียน นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ผู้แทนพระองค์

กระผมในนามของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และวิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย
อึ๊งภากรณ์
มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ที่พระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
นายเกษม
วัฒนชัย
องคมนตรี
เป็นผู้แทนพระองค์
ออกรับบัณฑิตอาสาสมัคร
รุ่นที่
๔๘
พร้อมด้วย
คณะผู้บริหาร
กรรมการประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย
อึ๊งภากรณ์ คณาจารย์ พนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อรับโอวาทก่อนออกปฏิบัติงานสนาม

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์
ได้ดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่บัณฑิตไทย
ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบัน
ต่าง

ไม่จำกัดสาขาวิชา ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๑๒ ปัจจุบันเปิดการสอน ๓ หลักสูตรคือ

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

549

๑.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์)

๒.
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร)

๓.
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ชนบทศึกษาและการพัฒนา)

ในส่วนของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
(บัณฑิตอาสาสมัคร)
เป็นหลักสูตร
การศึกษา

ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ
และประสบการณ์
การทำงานในท้องถิ่นชนบทแก่ผู้ศึกษา
โดยยึดหลักศึกษา
และบริการชุมชนไปพร้อมกัน
นับเป็นการผสมผสานพันธกิจของมหาวิทยาลัยสี่ประการเข้าไว้ด้วยกันคือ
งานจัด
การศึกษา
งานวิจัย
งานบริการวิชาการแก่สังคม
และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
จึงนับได้ว่าวิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย
อึ๊งภากรณ์
มีส่วนสร้างเสริมให้มหาวิทยาลัย
สามารถปฏิบัติภารกิจตามปรัชญาการศึกษาได้โดยสมบูรณ์

สำหรับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรในเวลา

ปี
ประกอบด้วย
การศึกษา
รายวิชาและอบรมความรู้เฉพาะด้านตามโครงการปฏิบัติงานสนาม
๑๗
สัปดาห์
การปฏิบัติงานสนามร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
ระดับหมู่บ้าน
๒๗
สัปดาห์
และการเขียน
รายงานการวิจัยเฉพาะเรื่อง

สัปดาห์
ในปีการศึกษา
๒๕๕๙
นี้
วิทยาลัย
พัฒนศาสตร์
ป๋วย
อึ๊งภากรณ์
ได้ประสานงานในการจัดส่งบัณฑิตอาสาสมัครออกไป
ปฏิบัติงานสนามในประเด็นต่าง

ประกอบด้วย
ด้านการจัดการทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม
ด้านการสนับสนุนองค์กรชุมชน
ด้านสิทธิชุมชน/สิทธิมนุษยชน
ด้านการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลและการศึกษาทางเลือก
และด้านความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมและการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน
โดยปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงาน
ในระดับท้องถิ่นทั่วทุกภาคของประเทศ
ทั้งหน่วยงานราชการ
เช่น
ศูนย์การเรียนชุมชน
ชาวไทยภูเขา
“แม่ฟ้าหลวง”
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
(องค์การมหาชน)
องค์กรพัฒนาเอกชน
เช่น
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
เครือข่ายสมัชชาคนจน
มูลนิธิพัฒนาอีสาน
และองค์กร
ชุมชน
เช่น
ศูนย์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง
วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม
เครือข่ายลุ่มนํ้าแม่ทา เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นต้น

ตลอดเวลาที่ผ่านมา
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย
อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเจตนาแน่วแน่ในอันที่จะเปิดโอกาสให้บัณฑิตไทยได้เรียนรู้
สภาพความเป็นจริงของท้องถิ่นชนบท
ฝึกใช้หลักวิชาการที่ได้ศึกษามาก่อประโยชน์ให้แก่
ชุมชน
และสังคม
ตลอดจนสร้างเสริมจริยธรรมแก่ตัวบัณฑิตอาสาสมัครเพื่อเป็น
ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติสืบต่อไป
บัณฑิตอาสาสมัคร

550

รุ่นที่
๔๘
นี้
มีจำนวน
๒๖
คน
เป็นหญิ

๑๘
คน
ชาย

คน
สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรีจากสถาบันต่าง

ทั้งส่วนภาคกลางและส่วนภูมิภาค

บัดนี้
กระผมขอประทานอนุญาตนำบัณฑิตอาสาสมัคร
รุ่นที่
๔๘
ประจำ
ปีการศึกษา
๒๕๕๙
กราบลา
พร้อมน้อมรับโอวาทก่อนออกปฏิบัติงานสนาม
เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

551