พระราชดำรัส ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันเสาร์ ที่ 8 ธันวาคม 2561

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2561
พระราชดำรัส(๑) 

ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา(๒) 
นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม 
เข้าเฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ 
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 
วันเสาร์ ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ 

คำกล่าวปฏิญาณสาบานตน ก็เป็นสิ่งที่เตือนใจ เตือนสติ แล้วก็ทำให้คำนึง 
นึกถึงหน้าที่ในการปฏิบัติ เพื่ออำนวยความยุติธรรม ความสุข และความสงบ 
ต่อประเทศชาติและประชาชน. 

ความยุติธรรมนั้น เป็นคำที่กว้าง. เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายได้รับ 
การฝึกอบรม ศึกษามา ก็ต้องเอาความรู้ความสามารถที่ได้ฝึกศึกษามาประยุกต์ใช้
ภายใต้กรอบขอบเขตของความถูกต้อง และศีลธรรม โดยใช้ปัญญานึกว่า สิ่งต่าง ๆ 
ในบางทีก็ดูออกมาแล้ว ความจริงที่แท้นั้นไม่เหมือนหลักฐานหรือสิ่งที่เราดู
ออกมาคร่าวๆ. เพราะฉะนั้น การใช้กฎหมาย ก็ต้องประกอบด้วยเหตุผล ประกอบ 
ด้วยวิจารณญาณ ซึ่งหลาย ๆ อย่างถ้าเผื่อตั้งจิตตั้งใจ ตั้งอุดมการณ์ไว้ ก็สามารถ 
จะเอาจริยธรรม จรรยาบรรณ หรือทัศนคติที่ดี มาใช้อำนวยความยุติธรรม 
ให้สามารถกำจัดทุกข์ กำจัดเรื่องต่างๆ ที่ไม่ดีได้. ประสพการณ์ที่ได้รับจากตนเอง 
หรือสิ่งที่ได้อ่าน ศึกษา ค้นคว้า หรือสนใจจำ ก็จะทำให้เป็นบุคคลที่สำคัญขึ้น 
หรือสมบูรณ์ขึ้น. อุปสรรคมีแน่นอน ปัญหาทางกฎหมายมีแน่นอน เพราะว่า
กฎหมายนี้ออกมามากมาย เยอะแยะ อ่านกันไม่ไหว. แต่สิ่งที่จะช่วยเราได้
ก็คือ สามัญสำนึก ปัญญา เหตุผล จรรยาบรรณ แล้วก็พูดซ้ำอีกที ประสพการณ์
จากการปฏิบัติหน้าที่และจากความสนใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ ตามที่ตนเอง 

(๑) เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้ 
(๒) นายชีพ จุลมนต์ 

463
ตั้งใจไว้. เพราะฉะนั้น ก็ขอให้เป็นกำลังของประเทศชาติในสิ่งที่ตนเองอยากเป็น 
เพราะส่วนหนึ่งก็ได้เรียนมา เรียนมาเพื่อเป็นในสิ่งนี้. ถ้าเกิดเผื่อจะเป็นให้ดี
ก็ต้องศึกษา ต้องศึกษาตนเอง ศึกษาสถานการณ์ ศึกษากฎหมาย และเหตุการณ์
ที่มันเกิดขึ้นที่จำเป็นจะต้องใช้กฎหมายนั้นอย่างไร. 

ก็ขอให้มีความโชคดี และมีความสุข ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนต่อไป. 

464