พระราชดำรัส ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันศุกร์ ที่ 2 มีนาคม 2561

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2561
พระราชดำรัส(๑) 

ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา(๒) 
นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม 
เข้าเฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ 
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 
วันศุกร์ ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ 

การที่ปฏิบัติ หรือถือปฏิบัติสืบต่อกันมาว่า ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธย 
พระมหากษัตริย์นั้น ความจริงความหมายก็คือ ปฏิบัติหน้าที่ในนามของสถาบัน 
ทั้งสามสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน. ในพระปรมาภิไธย 
ในนัยนี้ หมายถึงสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายของชาติ และความสุข ความร่มเย็น 
และมั่นคงของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นบ้านของเราทุกคน. อันนี้ความหมายที่
จะขอไขให้ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ก็คือ ในนามของประชาชนชาวไทย 
ในนามของสถาบันสูงสุดทั้งหลายของชาติและประชาชน คือให้ความยุติธรรม 
ให้ความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นที่พึ่งของประชาชนและสังคม. 

กฎหมายไม่ว่าประเทศไหน มีไว้เพื่อรักษาสิทธิ รักษาความปลอดภัย 
รักษาความสงบ. แต่กฎหมายนั้น ก็ลึกซึ้ง ใช้ให้ดีก็ดี แปลความให้ดีก็ดี 
ใช้ไม่ดี หรือหาช่องโหว่ในการปฏิบัติต่าง ๆ มันก็ไม่ดี. มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน 
เป็นทั้งศาสตร์ เป็นทั้งศิลป์ เรื่องกระบวนการยุติธรรมนี่. แต่ถ้าเผื่อตระหนักถึง 
ความถูกต้อง หรือพูดง่าย ๆ ความสุขของส่วนรวม ความสงบสุขและความมั่นคง 
ของประเทศชาติ ก็จะไปในทางที่ถูก ก็จะอ่านกฎหมายหรืออำนวยการยุติธรรมได้
อย่างไม่ผิด. ผู้พิพากษาก็เป็นมนุษย์ เป็นคน มีอารมณ์ แต่ถ้าเผื่อทบทวนศีลธรรม 
หรือจรรยาบรรณของผู้พิพากษาไว้ ก็จะไม่ออกนอกกรอบผิด ๆ. ท่านทั้งหลาย 


(๑) เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้ 
(๒) นายชีพ จุลมนต์ 


56 

ได้เรียนมาได้ศึกษามา และได้เรียนรู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรไม่ดี อะไร 
ที่จะทำให้เดือดร้อนต่อชาติบ้านเมือง ก็คงจะรู้แล้วว่าอะไรเป็นไปในทางที่ถูกไม่ถูก. 

ก็ขอให้มีสติ มีปัญญา มีทัศนคติที่ถูกต้อง และอำนวยความยุติธรรมให้แก่
ประชาชน ก็จะเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง. 


57