คำกราบบังคมทูล ของ นายสมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปี 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2560

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2560

คำกราบบังคมทูล(๑)

ของ
นายสมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปี ๒๕๕๙
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๐
เวลา ๒๑.๐๐ น.

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า
นายสมบูรณ์
เสงี่ยมบุตร
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
พิบูลสงคราม
ในนามสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
มีความสำนึกในพระมหา
กรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
ในการพระราชทาน
ปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วราชอาณาจักร

ในวโรกาสอันเป็นมงคลยิ่ง
ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระราชดำเนิน
ในวันนี้
ยังความปลื้มปีติแก่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณาจารย์
ข้าราชการ
และบัณฑิตที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นี้ โดยทั่วกัน

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลรายงาน
เกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยสรุป ดังนี้

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

260

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ได้ตระหนักถึงพันธกิจที่มุ่งส่งเสริม
และพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเป็นสำคัญ
โดยการเพิ่มคุณค่าการผลิตบัณฑิต
การวิจัย
การบริการวิชาการ
และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ด้วยกระบวนการบูรณาการ
การวิจัยและพัฒนา
แก้ไขปัญหาท้องถิ่น
สร้างองค์ความรู้
ผลิตบัณฑิตโดยเน้น
บัณฑิต
นักปฏิบัติ
ด้วยหลักสูตรที่สามารถรับสถานการณ์ปัจจุบัน
และการเปลี่ยนแปลง
ในอนาคต

ในวโรกาสอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์นี้
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรม
ราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน
ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ
กับขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
กล่าวคำสดุดีเกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีมติ
เป็นเอกฉันท์ให้ประสาทปริญญากิตติมศักดิ์ โดยสังเขป ดังนี้

ลำดับที่หนึ่ง นายเติม แย้มเสมอ เป็นครูผู้เสียสละและอุทิศตนเพื่อวิชาชีพครู
มุ่งมั่นพัฒนาระบบการศึกษาให้มีความก้าวหน้า
และเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม
ได้รับการยกย่องให้เป็น
“ครูของครู”
มีอุดมการณ์ของความเป็นครูผู้เสียสละ
จนทำให้
มีผลงานที่ดีเด่นมากมาย
ควรแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
พิบูลสงครามเห็นสมควรให้ได้รับพระราชทานปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ลำดับที่สอง นายอนุพงษ์ สิงหพันธุ์ หัวหน้าลิเกคณะวาสนาดาวเหนือ เป็น
ผู้ที่มีปณิธานที่แน่วแน่ว่าจะต้องอนุรักษ์และสืบสานให้ลิเกคงอยู่ไม่สูญหายไป
จึงได้
มุ่งมั่นและตั้งใจศึกษาหาความรู้ในศาสตร์ของศิลปะการแสดงลิเก
กระทำตนเป็นแบบอย่าง
ที่ดี
ควรแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเห็นสมควร
ให้ได้รับพระราชทานปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาภาษาไทย
เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ลำดับที่สาม นายธรรมรัตน์ บำรุงไทย เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการบริหาร
จัดการ
ได้อุทิศตนและทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
จึงทำให้
มีผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับจำนวนมาก
ควรแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง
สภา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเห็นสมควรให้ได้รับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการประยุกต์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

261

ลำดับที่สี่ นายธนศักดิ์ มากมิ่ง เป็นผู้เสียสละอุทิศตนเพื่อสังคมของคน
ชั้นรากหญ้าในท้องถิ่น
ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการพัฒนาชุมชน
เป็นผลให้
สังคมและชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ควรแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง สภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงครามเห็นสมควรให้ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเบิกผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับ
พระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ ตามลำดับ ดังนี้
ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นายเติม แย้มเสมอ
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นายอนุพงษ์ สิงหพันธุ์
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นายธรรมรัตน์ บำรุงไทย
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นายธนศักดิ์ มากมิ่ง

ในวโรกาสต่อไปนี้
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
กราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานปริญญาบัตรแก่
ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน ๒,๔๓๔ คน แยกเป็น

ปริญญาบัณฑิต
จำนวน
๒,๓๗๖
คน
ปริญญามหาบัณฑิต
จำนวน
๕๔
คน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
จำนวน

คน

ดังรายนามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและคณะ
จะได้กราบ
บังคมทูลตามลำดับ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

262