ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 3 ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอภูซางและอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมนำจิตอาสาภัยพิบัติช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2565

      เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 17 พร้อมกองร้อยทหารพรานที่ 3101 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 31 ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ร่วมลงพื้นที่ติดตามและแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยอันเนื่องมาจากผลกระทบพายุโซนร้อน “มู่หลาน” ในพื้นที่ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา โดยมี นายชุติเดช มีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วย ปลัดจังหวัดพะเยา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา นำคณะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ฯ ทั้งนี้ กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 17 จัดยานพาหนะและกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย จิตอาสาภัยพิบัติ ร่วมอำนวยความสะดวกในการติดตามสถานการณ์น้ำและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมี นายคเณศ คำนนท์ นายอำเภอภูซาง, นายกเทศมนตรีตำบลสบบง, ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรภูซาง, ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอภูซาง, กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 326, หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูซาง, สาธารณสุขอำเภอภูซาง, เกษตรอำเภอภูซาง, สมาชิกสภาจังหวัดพะเยา เขต 1,2 อำเภอภูซาง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาอำเภอภูซาง, กำนันตำบลสบบง, มูลนิธิลือชาภูซาง, มูลนิธิสว่างพะเยา, เยาวชนกลุ่มอะตอม    

     ร่วมรายงานสถานการณ์และแผนการช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบอุทกภัย พร้อมนำตรวจพื้นที่ประสบอุทกภัย หมู่ที่ 1,2,3,10 ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ด้าน นายพิสุทธิศักดิ์ ธรรมะวุฒิสุข ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง/เลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอเชียงคำ รักษาราชการแทน นายอำเภอเชียงคำ พร้อมด้วย นายจิรายุ ยองเพชร นายรุ่งทวี แก้วคำปา ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง จิตอาสาพระราชทาน และสมาชิกอาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอเชียงคำ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยน้ำป่าไหลหลากเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จากเหตุฝนตกหนักเนื่ิองจากอิทธิพลพายุโซนร้อนมู่หลาน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น และตำบลเจดีย์คำ ร่วมกับ ผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่    

     โดยเบื้องต้นได้สั่งการให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำท้องที่เร่งสำรวจความเสียหายและเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วนตามอำนาจหน้าที่แล้ว ทั้งในด้านการฟื้นฟูบ้านเรือนราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ด้านสิ่งสาธารณูปโภค และด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว ทั้งนี้ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด